วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ฤาว่า...สังคมเรากำลังอยู่ในภาวะวิกฤติทางการสื่อสาร

ช่วงนี้ได้เข้ามาใช้ facebook อีกครั้งหนึ่งเพราะมีปัญหาเรื่องการสื่อสารฝ่ายเดียว และเป็นการสื่อสารที่มุ่งร้ายจนเกิดความเสียหายในกลุ่มที่ทำงาน จนเกิดความแตกแยกเป็นพรรคพวก (มีทุกขนาด, 1 คน 1 พวกก็มี)

และเมื่อพิจารณาแล้วก็เห็นสมควรเพราะหากปล่อยไว้จะกลายเป็นยอมรับเหมือนกับที่เราเสียเขาพระวิหารไปเมื่อ 50 ปีก่อน เพราะการพิจารณาในครั้งถือว่า ไทย ยอมรับอาณาเขตของฝรั่งเศสที่มีอำนาจเหนือเขาพระวิหารเพราะฝรั่งเศสชักธงขึ้น แล้วมีพระรูป (รูปถ่าย) ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงประทับบนเขาพระวิหารด้วย

การไม่ทักท้วงถือว่ายอมรับความจริง เป็นกฎเกณฑ์ไปเสียแล้วในสำหรับสังคมปัจจุบัน จริง ๆ แล้วก็แลดูเหมือนเห็นแก่ตัวอย่างมาก และจะขัดกับกฎเกณฑ์ของสังคมไทยในอดีตด้วยซ้ำไป

ดังนั้นจึงมาเขียน สื่อสารกันบนสังคมออนไลน์กันอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ยังยืนยันเหมือนเดิมว่าบางกลุ่มบนสังคมออนไลน์ก็ไม่ได้แตกต่างจากสังคมเสื่อมโทรมและถือว่าเป็นสลัมออนไลน์เหมือนเดิมครับ แต่สำหรับกลุ่มดี ๆ ก็ยังมีอยู่ไม่ขาดหาย ไม่ว่าสังคมจริง สังคมออนไลน์ก็ไม่ต่างกันแล้วแต่ว่าเราจะเลือกอยู่ในกลุ่มไหน แต่ไม่น่าเชื่อว่า... หลายคนเลือกกลุ่มที่ไม่ค่อยประเทืองปัญญามีแต่สังคมก่นด่า และส่งข้อมูลโดยไม่กลั่นกรอง ใช้ความเป็นสื่อออนไลน์โจมตีให้ร้ายป้ายสีผู้อื่น และทำอะไรตามใจชอบโดยไม่สนใจผลกระทบ

ปัจจุบันปัญหาผลกระทบจากสื่อชนิดนี้คือ ความไม่น่าเชื่อถือของสารที่ได้รับ เพราะมันเป็นข้อเท็จจริง เป็นข้อมูลดิบ (Raw data) มันยังไม่เป็นสาระสนเทศ (Information)

การบริโภคข่าวสารที่ไม่ได้รับการกลั่นกรองกลับทำให้เกิดความเสียหาย ความล่าช้า และความสนุกสนานของกลุ่มคนที่ไม่มีความรับผิดชอบ เป็นต้นว่า การแตกตื่น โกลาหล การโจมตี กล่าวหามุ่งร้ายผู้อื่น การปล่อยข่าวโคมลอย เป็นต้น

โดนเฉพาะปัจจุบันยุคออนไลน์การส่งข้อมูลทำได้ง่ายแค่มือถือราคาหนึ่งพันบาทก็สามารถเข้าสู่โลกออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย และการส่งข้อมูลออกง่ายแสนง่ายกดปุ่มไม่กีปุ่มก็เรียบร้อยแล้ว แต่ผลที่ได้มันช่างน่ากลัวเสียจริง ๆ

ไม่กี่วันนี้มีการส่งข่าวสารผ่าน ทวีตเตอร์ เฟสบุ้ค และ กูเกิ้ลพลัส ข่าวเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน และนายกรัฐมนตรีทั้งในทางดีทางไม่ดี และส่งเสียงแรงเชียร์ตามการสนับสนุนหรือเกลียดชังของตนเอง และมีการส่งต่อแชร์ไปเรื่อย ๆ จนไม่มีการกลั่นกรองในที่สุดก็เป็นการนำเอาภาพเก่า ๆ มาลงใหม่ นี่แหละอานุภาพของการหลั่งไหลของข่าวสาร จริง ๆ แล้วมันร้ายกาจยิ่งกว่าน้ำท่วมเสียอีก (Water flood VS Information flood)

ลองดูวิธีการตรวจสอบในเว็บนี้ครับ

ดังนั้นก่อนที่จะสื่อสาร ส่งสารอะไรใช้สติปัญญาคิดสักนิด อย่าให้ปัญญากลายเป็นปัญหา แล้วจะลำบาก และการรับสารก็ควรใช้สมองคิดไตร่ตรองให้ดี บางคนแค่รับข่าวสารมาปุ๊บกดปุ่มโทรศัพท์ปั๊บเพื่อแสดงออกหรือส่งต่อ

ลองคิดถึงคำพูดของคนโบราณที่กล่าวว่า ก่อนพูดเราเป็นนายมัน หลังพูดมันเป็นนายเรา...

เหมือนกับครับ ก่อนเม้นท์เราเป็นนายมัน หลังเม้นท์มันเป็นนายเรา... หลายคนตายตอนจบเพราะการแสดงความคิดเห็นหรือการสื่อสารอย่างฉับพลันนี่แหละ... หรือว่าไม่จริง...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น