วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แนวทางฝึกหัดเพื่อเขียนบทความ: คิดก่อนพูด และคิดก่อนเขียน

พูดได้ก็เขียนได้ พูดเป็นก็เขียนเป็น ทั้งพูดและเขียนต่างต้องใช้ความคิด ต้องเรียบเรียงความคิดเพื่อสื่อออกมา...

เมื่อวานได้เขียนแนวทางการฝึกหัดการเขียนบทความแล้ว ชื่อตอน นักเขียนย่อหน้าเดียว เป็นการแนะนำให้คนเริ่มเขียนบทความได้ฝึก ง่ายๆ ด้วยการเขียนทุกวันผ่านเฟสบุ้กหรือสื่อออนไลน์ต่างๆ โดยเปลี่ยนวิธีการเขียนเสียใหม่ ให้เขียนหนึ่งย่อหน้า แล้วให้ได้ใจความให้ได้สาระ มีความเป็นเอกภาพ ลื่นไหล สามารถนำไปแตกประเด็นใหม่ได้อีก เหมือนที่มีคนบอกว่า

พูดได้ก็เขียนได้ พูดเป็นก็เขียนเป็น ทั้งพูดและเขียนต่างต้องใช้ความคิด ต้องเรียบเรียงความคิดเพื่อสื่อกมา แต่จะดีมากน้อยแค่ไหนก็ว่ากันไปตามเหตุปัจจัย

ปปัญจธรรมมูลเหตุของสงครามทุกชนิด

ปปัญจธรรม คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ นี่แหละครับที่ก่อให้เกิดการต่อสู้อย่างยิ่งใหญ่ เป็นกิเลสชนิดหนึ่ง ที่มีอยู่คู่กับ โลภะ โทสะ โมหะ

ตัณหาความอยากได้ใคร่มีทำให้แย่งชิงต่อสู้ให้ได้มา มานะ เป็นความถือตัวถือตน คิดว่าตนเองใหญ่ ยึดตัวกูของกู ทำให้ไม่เกรงกลัวผู้ใด ก่อให้เกิดสงครามแย่งชิงเช่นกัน

ทิฏฐิ คือ ความคิด ความเห็น อุดมการณ์ ตัวนี้ใหญ่เลยครับ ใหญ่เสียใจทำให้เกิดความหลงผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ การต่อสู้ด้วยทิฏฐินี้ เป็นการต่อสู้ที่ยาวนาน ไม่มีทางสิ้นสุด เพราะเป็นความคิดที่ฝังหัว ปลูกฝังสู่ลูกสู่หลาน กลายเป็นวัฒนธรรมของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไป

ตอนนี้ในสังคมไทยกำลังเข้าสู่สภาวะที่หลายคนกำลังลุ่มหลงมัวเมาใน ปปัญจธรรม  คือ อยากได้อยากไม่ ยึดมั่นตัวตน ยึดในทิฏฐิของตน ทำให้สังคมปั่นป่วน จวนเจียนเต็มที

แต่สังคมนี้เราหลายคนยังไม่ทราบว่า ตกอยู่ในกิเลสเหล่านี้ กลับมองเห็นเป็นเรื่องปกติ นี่แหละประเทศไทย น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งครับ

ตัวอย่างตัณหาก่อให้เกิดสงคราม:

อเมริกาอยากได้ทรัพยากรน้ำมันจากตะวันออกกลางเลยเป็นส่วนหนึ่งของสงคราม (ตัณหา)

ศากยวงศ์รังเกียจพระเจ้าวิฑูฑภะ ที่เกิดจากพระเจ้าปเสนทิโกศลกับนางทาสที่ราชวงศ์ศากยะย้อมแมวส่งไปให้เป็นการถือตัวตน ถือวรรณะ สุดท้ายพระเจ้าวิฑูฑภะล้างราชวงศ์ศากยะจนเกือบสูญสิ้น จนไม่เหลืออำนาจ (มานะ)

สงครามระหว่างอิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ เป็นเรื่องของดินแดนตามพันธสัญญาที่พระเจ้าให้ไว้ว่า ดินแดนแห่งพระเจ้าประทานให้ กลายเป็นสงครามยืดเยื้อจากอดีตถึงปัจจุบัน (ทิฏฐิ)

จะเห็นได้ว่า สงครามที่เกิดจาก ทิฏฐิ นี้เป็นสงครามที่ยืดเยื้อสิ้นสุดได้ยาก ใช้ระยะเวลายาวนาน และไม่มีท่าทีว่าจะสิ้นสุด

ทุกวันนี้สังคมไทยก็ได้เห็นแล้วว่า ความแตกแยกทางสังคมของเราเกิดความเห็นต่าง ซึ่งนั่นก็คือ ทิฏฐิ ตามหลักพุทธศาสนา เป็นทิฏฐิของตนเอง ของฝ่ายตนเอง และไม่ต้องถามว่าเป็นทิฏฐิแบบ สัมมาทิฏฐิ หรือ มิจฉาทิฏฐิ

หากเป็นสัมมาทิฏฐิแล้วย่อมเห็นเหมือนกัน เห็นความจริงแท้แน่นอนของสรรพสิ่ง เห็นทั้งเขาและเรา เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม แล้วความเดือดร้อนจะเกิดได้อย่างไร

ทิฏฐิที่สร้างปัญหาทุกวันนี้คือ มิจฉาทิฏฐิ อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะเป็น เสื้อแดง หรือ กปปส. ก็ทิฏฐิฝ่ายตัวเองทั้งนั้น... หรือว่าใครมีความเห็นต่างบ้างครับ...

วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แนวทางฝึกหัดเพื่อเขียนบทความ: นักเขียนหนึ่งย่อหน้า

มีคนเคยพูดไว้ว่า ใครพูดได้ก็สามารถเขียนได้ แต่จะเขียนมีคุณภาพหรือไม่ก็อยู่ที่พูดได้ดีหรือยัง...
เขียนบทความคือยาขมของหลายคน เมื่อถึงคราวต้องเขียนแล้วสมองมึนงงมืดไปแปดด้าน พยายามดูตัวอย่างก็คิดว่าเขาเอาคำพูดจากไหนมาเขียน ครั้นตัวเองลองเขียนบ้างก็วกไปวนมา สุดท้ายก็จบแบบห้วนๆ อ่านแล้วไม่ได้ใจความ เมื่อกลับไปอ่านวิธีการแต่งบทความยิ่งไปกันใหญ่ วิธีการร้อยแปดพันเก้า ยากจะเข้าใจ พาลท้อเลิกเขียนไปเสียอย่างนั้น

หากผู้เขียนบอกว่า การเขียนบทความ นั้นง่ายมาก จะเชื่อหรือไม่

วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

หยุดเห็นแก่ตัวเพื่อตัดวงจรอาชญากรรมกันเถอะ...

ทางอาชญาวิทยามีการศึกษาพบว่าการก่ออาชญากรรมมีองค์ประกอบหลักคือ ตัวบุคคล สังคม สภาพแวดล้อม โดยมูลเหตุจะขึ้นกับแนวโน้มการก่ออาชญากรรมและสถานการณ์ที่นำพาให้เกิดเหตุ ส่วนการหยุดยั้งคือ การต้านทานต่อแรงจูงใจในการก่ออาชญากรรม


ตัวแปรสำคัญ คือ แรงต้านทานการก่ออาชญากรรม ซึ่งเป็นตัวหาร เป็นตัวแบ่งให้ความรุนแรวลดน้อยลง แรงต้านจะอยู่ภายในจิตของแต่ละคน เป็นความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ความรู้เกรงกลัว ความละอายต่อบาป


หิริ-โอตตัปปะ ความละอาย ความเกรงกลัวต่อการกระทำชั่ว เป็นสภาวะ เป็นความรู้สึก ต้องปลูกฝังกันจากรุ่นสู่รุ่น ไม่สามารถสอนกันได้ แต่แนะนำและลงมือกระทำ 


การบังคับด้วยกฎระเบียบนั้นจะได้ผลก็ต่อเมื่อคน บุคคลเป็นผู้มีสำนึกเท่านั้น ในเมื่ออาชญากร คือ ผู้มีพฤติกรรมเป็นปฏิปักษ์ต่อสังคม มีหรือจะเกรงกลัว การลงโทษเป็นเพียงผลลัพธ์ของเกมไล่ล่า ระหว่างผู้ร้ายและผู้ถือกฎหมาย สุดท้ายมีแพ้มีชนะ หากแพ้ผู้ร้ายก็ยอมรับโทษ แต่น้อยที่จะสำนึก แต่กลับคิดว่าตัวเองพลาดในเกมสุดท้ายรอเวลาเริ่มเล่นเกมใหม่อีกครั้ง...


หากต้องการลดอาชญากรรมก็อย่าเป็นผูสร้างอาชญากร... หันกลับมาดูตัวเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาหรือไม่ เรากำลังบ่มเพราะนักก่ออาชญากรรมด้วยการสร้างปัญหาแก่สังคมด้วยความเห็นแก่ตัวหรือไม่?


หยุดเห็นแก่ตัวเพื่อตัดวงจรอาชญากรรมกันเถอะ...

วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ฆ่าข่มขืน... ประหารทันทีดีหรือไม่?

อาชญากรรม คือ พฤติกรรมของบุคคลที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพฤติกรรมชุมชน

ข้อความประโยคนี้สะท้อนให้เห็นว่าชุมชนคือ เบ้าหลอมของบุคคลในฐานะสมาชิกในสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นบรรทัดฐานว่า ชุมชนมีพฤติกรรมที่สงบสุขไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม

แล้วทุกวันนี้สังคมเป็นเช่นนั้นหรือไม่ พฤติกรรมชุมชนเป็นเช่นไร เรากำลังบ่มเพราะอาชญากรกันหรือเปล่า เราเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างนักก่ออาชญากรรมหรือไม่ อันนี้น่าคิด

ขณะเดียวกันกระแสการเรียกร้องให้เพิ่มโทษคดีข่มขืนจากประหารชีวิต เป็น ประหารชีวิตทันทีและสถานเดียวไม่มีการลดหย่อนโทษ (ปกติคดีฆ่าขมขืนก็มีโทษประหารชีวิต)

แล้วการเพิ่มโทษอย่างรุนแรง เฉียบขาดนั้นหยุดอาชญากรรมได้จริงหรือ?

ตามแนวคิดและการศึกษาของ Murchison และ Tulchin ระบุว่า อาชญากรไม่ใช่บุคคลที่อ่อนแอ แต่ในทางตรงกันข้าม กลับมีความสามารถในการปฏิบัติงานต่างๆ ได้ดีกว่าทหารที่รับการฝึกมาแล้วเสียอีก

เมื่อศึกษาลงลึกไปอีกจะพบว่าอาชญกรต่างมีสาเหตุในการก่อความรุนแรงหลากหลาย สุดท้ายเขาเตรียมพร้อมสำหรับผลลัพธ์ไว้แล้วนั่นคือ ความตาย

นั่นหมายความว่า เขามองความตายคือ ทางเลือกสุดท้าย หาใช่บทลงโทษและไม่ได้เกรงกลัวแม้แต่นิด ตามหลักอาชญาวิทยา เจ้าวายร้ายทั้งหลายกลับมีคุณสมบัติไม่กลัวตายที่เรียกว่า fearless dominant อันเป็นคุณสมบัติเดียวกันกับคนที่มีแนวคิด ฮีโร่ หรือวีรบุรุษ เพียงแต่เข้าอยู่กันคนละด้าน มีเส้นกั้นบางๆ ที่เรียกว่า ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจคนอื่น (Emphaty) หรือตามหลักจริยธรรมที่ว่า เอาใจเขามาใส่ใจเรา

ในเมื่อวายร้ายไม่กลัวตาย เขาจะรู้สึกอย่างไรกับโทษประหารทันที... เขาอาจจะรู้สึกหลีกเร้นความผิดได้เร็วยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องทุกข์ทรมานหรือเปล่า...
...