วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ฆ่าข่มขืน... ประหารทันทีดีหรือไม่?

อาชญากรรม คือ พฤติกรรมของบุคคลที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพฤติกรรมชุมชน

ข้อความประโยคนี้สะท้อนให้เห็นว่าชุมชนคือ เบ้าหลอมของบุคคลในฐานะสมาชิกในสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นบรรทัดฐานว่า ชุมชนมีพฤติกรรมที่สงบสุขไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม

แล้วทุกวันนี้สังคมเป็นเช่นนั้นหรือไม่ พฤติกรรมชุมชนเป็นเช่นไร เรากำลังบ่มเพราะอาชญากรกันหรือเปล่า เราเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างนักก่ออาชญากรรมหรือไม่ อันนี้น่าคิด

ขณะเดียวกันกระแสการเรียกร้องให้เพิ่มโทษคดีข่มขืนจากประหารชีวิต เป็น ประหารชีวิตทันทีและสถานเดียวไม่มีการลดหย่อนโทษ (ปกติคดีฆ่าขมขืนก็มีโทษประหารชีวิต)

แล้วการเพิ่มโทษอย่างรุนแรง เฉียบขาดนั้นหยุดอาชญากรรมได้จริงหรือ?

ตามแนวคิดและการศึกษาของ Murchison และ Tulchin ระบุว่า อาชญากรไม่ใช่บุคคลที่อ่อนแอ แต่ในทางตรงกันข้าม กลับมีความสามารถในการปฏิบัติงานต่างๆ ได้ดีกว่าทหารที่รับการฝึกมาแล้วเสียอีก

เมื่อศึกษาลงลึกไปอีกจะพบว่าอาชญกรต่างมีสาเหตุในการก่อความรุนแรงหลากหลาย สุดท้ายเขาเตรียมพร้อมสำหรับผลลัพธ์ไว้แล้วนั่นคือ ความตาย

นั่นหมายความว่า เขามองความตายคือ ทางเลือกสุดท้าย หาใช่บทลงโทษและไม่ได้เกรงกลัวแม้แต่นิด ตามหลักอาชญาวิทยา เจ้าวายร้ายทั้งหลายกลับมีคุณสมบัติไม่กลัวตายที่เรียกว่า fearless dominant อันเป็นคุณสมบัติเดียวกันกับคนที่มีแนวคิด ฮีโร่ หรือวีรบุรุษ เพียงแต่เข้าอยู่กันคนละด้าน มีเส้นกั้นบางๆ ที่เรียกว่า ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจคนอื่น (Emphaty) หรือตามหลักจริยธรรมที่ว่า เอาใจเขามาใส่ใจเรา

ในเมื่อวายร้ายไม่กลัวตาย เขาจะรู้สึกอย่างไรกับโทษประหารทันที... เขาอาจจะรู้สึกหลีกเร้นความผิดได้เร็วยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องทุกข์ทรมานหรือเปล่า...
...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น